วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บทความ

บทความ : เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานของเด็กปฐมวัย “เทคนิคการเลือกและเล่านิทานให้ลูกรัก” กิจกรรมที่แสนจะอบอุ่นในชั้นเรียนและในครอบครัว

พ่อแม่สมัยใหม่ค่อนข้างมีความรู้และให้ความสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลานตั้งแต่เยาว์วัย สิ่งสำคัญในการเรียนรู้ระดับปฐมวัยคือการสร้างเจตคติที่ดีในการเรียนรู้ของเด็ก โดยผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจของ “โครงการบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีปฐมวัย” โดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

ล่าสุด สสวท. ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ผ่านนิทาน” ในงานเปิดตัวกรอบมาตรฐานและคู่มือการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ปฐมวัย ของ สสวท. เมื่อเร็วๆ นี้ ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ สุขุมวิท เพื่อเป็นตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนให้แก่ครูปฐมวัยที่สนใจ โดยมี ดร. อุไรวาส ปรีดีดิลก ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษาปฐมวัย การส่งเสริมพัฒนาการและการผลิตสื่อสำหรับเด็กปฐมวัยจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาจารย์พัชรดา รักยิ่ง ผู้ชำนาญสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา โครงการบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีปฐมวัย สสวท. เป็นวิทยากร

ในการอบรมครั้งนี้ ครูได้พบตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์โดยใช้นิทานเป็นสื่อในการเรียนรู้ เด็กปฐมวัยจะได้เรียนรู้จักเชื่อมโยงจินตนาการจากนิทานสู่การสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

นิทานเป็นสื่อที่เราเห็นทั่วไป เป็นสื่อการเรียนรู้ที่หาง่าย ส่วนใหญ่นำเอามาเล่าให้เด็กฟังเพื่อความเพลิดเพลินแล้วก็จบไป แต่ที่จริงแล้วนิทานเป็นสื่อที่ดี ช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้ได้หลากหลาย ที่เห็นชัดเจน คือ เรื่องของภาษา คำพูด เสียง ยิ่งนิทานที่มีคำซ้ำ ๆ เด็กจะฟังและเลียนแบบคำได้

นอกจากนั้นก็ยังมีความคิดสร้างสรรค์ มีวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และความรู้ด้านต่าง ๆสอดแทรกผ่านวิธีคิดที่เป็นเหตุผล เช่น ในนิทานเรื่องลูกหมู 3 ตัว ที่วิทยากรยกตัวอย่างในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้สอดแทรกเรื่องเกี่ยวกับวิธีการสร้างบ้าน ลำดับ พื้นที่ ทิศทาง ซึ่งคุณครูหรือผู้เล่านิทาน จะต้องมาเลือกดูว่าต้องการให้เด็กเรียนรู้ด้านใด แล้วแต่ว่าจะหยิบจับจุดใดมาเล่า แล้วเด็กก็จะได้ประสบการณ์ตรงนี้

ดร. อุไรวาส ปรีดีดิลก แนะนำว่า ถ้าหากเป็นไปได้ ผู้เล่านิทานควรมีการเตรียมตัวล่วงหน้า เพื่อวางแผนการสื่อสารกับเด็ก ๆ และจะหยิบยกประเด็นใดมาพูด นิทานบางเล่มที่ไม่มีคำบรรยาย มีแต่ภาพอย่างเดียว ภาพก็จะสื่อให้เข้าใจได้เช่นกัน

นิทาน..ต้องเล่าก่อนนอน จริงหรือ ?
“การเล่านิทาน จริงๆ แล้วสามารถเล่าได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกโอกาส เป็นกิจกรรมที่ทุกคนในครอบครัวสามารถมีส่วนร่วมได้” แต่เวลาก่อนนอน อาจเป็นเวลาที่สะดวกต่อการเล่านิทาน หลายครอบครัวจึงมักใช้เวลาก่อนนอนในการเล่านิทานให้บุตรหลานฟัง

เทคนิคการเลือกนิทานให้เด็ก ควรเลือกให้เหมาะกับวัย เช่น เด็กเล็ก เริ่มจากเรื่องราวสิ่งใกล้ตัวที่เขาชอบ เช่น สัตว์ ธรรมชาติ ภาพน่ารัก ๆ เลือกสีสัน และเนื้อหาที่ไม่ยาวเกินไป

เทคนิคการเล่านิทาน ในการเล่านิทาน จะต้องสร้างอารมณ์ร่วมในขณะที่เล่า มีการใช้โทนเสียงเวลาเล่า ปล่อยให้เด็กได้ใช้ความคิดไปกับผู้เล่าในขณะที่ฟังนิทาน การใช้เสียงต่าง ๆ จะทำให้เด็กได้สังเกตอารมณ์ของการใช้เสียง

นอกจากเสียงเล่าแล้ว ยังมีรูปแบบอื่นประกอบ เช่น หุ่นมือ หุ่นนิ้ว วาดไปเล่าไป ถ้ามีการใช้สื่อในบางโอกาส เด็กก็จะชอบ การนำของจริงที่เกี่ยวข้องกับนิทานมาให้เด็กดูประกอบการเล่านิทาน อาจทำให้เด็กอยากเกิดความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องที่เล่า ซึ่งจะนำไปสู่การเชื่อมโยงต่อยอดประสบการณ์ภายหลังได้

นิทานบางเรื่องถึงเด็กจะอ่านไปแล้ว แต่เด็กปฐมวัยอยู่ในวัยที่ชอบฟังซ้ำๆ ซึ่งก็เกิดการเรียนรู้ตามมา “เด็กคนไหนที่มีโอกาสฟังนิทานเยอะ ก็จะเปิดประสบการณ์ได้เยอะ นิทานเรื่องเดียวเล่าได้ซ้ำๆ และเปิดมุมมองในการเรียนรู้ได้หลายแง่มุม”

นอกจากนั้น ข้อควรระวังในการเล่านิทาน ก็คือ “เวลาเล่านิทาน ถ้าเด็กมีความคิดใหม่ ๆ หรือคำพูดที่ไม่ตรงกับสิ่งที่พ่อแม่ต้องการหรือคาดหวัง ก็ไม่ควรปฏิเสธ เพราะจะปิดกั้นความคิด อาจทำให้เด็กขาดความมั่นใจ คือ อย่าเพิ่งไปบอกเด็กว่าไม่ใช่ อาจจะเฉยๆ ไปก่อน หรือมีวิธีพูดอย่างอื่น” ไม่ควรหยุดเล่ากลางคัน เพื่อผละไปทำอย่างอื่นในขณะที่เด็กมีความสนใจในเรื่องที่เล่า จะทำให้ความใฝ่รู้ของเด็กตรงนั้นสะดุด

ดร. อุไรวาส ปรีดีดิลก ฝากทิ้งท้ายว่า ในส่วนของคุณครูผู้สอนระดับปฐมวัยนั้น ปกติใช้นิทานในการเรียนการสอนอยู่แล้ว แต่อยากให้มองในการใช้นิทานเป็นสื่อในการพัฒนาเด็กหลายๆ ด้าน ไม่ใช่แต่เพียงด้านภาษาอย่างเดียว อยากให้สอดแทรกเรื่องอื่นเข้าไปด้วย ซึ่งครูสามารถใช้นิทานเป็นสื่อการเรียนการสอนได้เยอะแยะแตกแขนงมากมายหลายสาขาวิชา สามารถใช้นิทานเพื่อนำไปสู่การทำโครงงานเล็กๆ การทดลองเล็ก ๆ หรือการทำกิจกรรมในชั้นเรียน ทำให้เกิดทักษะหลากหลาย

.....นิทานเรื่องเดียวที่เล่าไปก็จะไม่จบไปในแค่นั้น... แต่จะจุดประกายต่อยอดไปสู่การพัฒนาความคิดและทักษะอื่นๆ อีกมากมายได้

    

วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 16

18 ก.ย. 56
       - อาจารย์ขออาสาสมัครเป็นตัวแทนนำสอนการทำไข่ตุ๋น แล้วให้เพื่อนๆที่เหลือเป็นนักเรียน ในระหว่างการสอนเพื่อนที่เป็นตัวแทนนำสอนก็ได้พูดคุยถึงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ และขออาสาสมัครมาเป็นผู้ช่วยเป็นระยะๆตามขั้นตอนการทำที่ได้เขียนไว้ในแผนการจัดประสบการณ์










บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 15

15 ก.ย. 56
       ~ เรียนชดเชย ~
       - อาจารย์สอนขั้นตอนการจัดประสบการณ์การทำอาหารสำหรับเด็ก หรือ Cooking
       - อาจารย์สอนการเขียนแผนการจัดประสบการณ์เป็น Mind Mapping
       - อาจารย์ให้เขียนแผนการจัดประสบการณ์การทำ Cooking มากลุ่มละ 1 อย่าง พร้อมทั้งนำเสนอ
       - อาจารย์ให้เพื่อนลงมติว่าจะทำ Cooking อะไรในสัปดาห์ต่อไป มติที่ได้คือ ไข่ตุ๋น

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 14

11 ก.ย. 56
       ~ ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดภารกิจทางราชการ แต่จะมีการเรียนชดเชยภายหลัง ~

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 13

4 ก.ย. 56
       ~ ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดภารกิจทางราชการ แต่จะมีการเรียนชดเชยภายหลัง ~

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 12

28 ส.ค. 56
       ~ ไม่มีการเรียนการสอน ~

       - เดินทางไปศึกษาดูงานนอกสถานที่ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฎโคราช โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา และโรงเกลือ ตั้งแต่วันที่ 27-28 สิงหาคม 2556

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 11

21 ส.ค. 56
       ~ ไม่มีการเรียนการสอน ~

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 10

14 ส.ค. 56
       - อาจารย์พูดคุยเกี่ยวกับการไปศึกษาดูงานนอกสถานที่ แบ่งกลุ่ม แจกแจงงานแต่ละฝ่ายทำอะไรบ้าง มอบหมายงานแต่ละฝ่าย สิ่งที่ต้องเตรียมไป และความสมบูรณ์ของรูปเล่มโครงการ



       - อาจารย์เปิด bloger ของแต่ละคน เพื่อตรวจดูความเรียบร้อยและข้อแก้ไขเพิ่มเติม
       - อาจารย์ให้ทำการทดลอง ประดิษฐ์จากใบไม้แห้งที่ทับไว้ แล้วถ่ายรูป นำเสนอลง bloger

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 9

7 ส.ค. 56
       - อาจารย์ให้เข้าร่วมกิจกรรม "โครงการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม โครงการกายงาม ใจดี ศรีปฐมวัย" ซึ่งโครงการนี้เชื่อมโยงกับวิชาการจัดประสบการณ์นาฏศิลป์และเพลงของอาจารย์ณุตรา ดิฉันได้เป็นตัวแทนรำเปิดงานด้วย


บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 8


31 ก.ค. 56
      ~ ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากสอบกลางภาค ~

       - ดิฉันได้ไปค้นคว้าเพิ่มเติ่มเกี่ยวกับการทำของเล่นเชิงวิทยาศาสตร์







บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 7

24 ก.ค. 56
       - อาจารย์ทบทวนองค์ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนการสอน วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็น Mind Maping
       - อาจารย์เปิดรายการโทรทัศน์ครู ตอน Project Approch ให้นักศึกษาได้ศึกษาขั้นตอนการสอน การจัดประสบการณ์ให้เด็กปฐมวัย และประโยชน์ของการจัดประสบการณ์

วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 6

ของเล่นว่าวถุงพลาสติก





อุปกรณ์

1. ถุงพลาสติก
2. เชือก
3. ปากกา
4. ไม้บรรทัด
5. เทปใส
6. กรรไกร

วิธีทำ

1. ใช้กรรไกรตัดส่วนบนและล่างของถุงพลาสติกทิ้ง
2. ใช้กรรไกรตัดตัวว่าว 1 ชิ้นและปีก 2 ชิ้น (ดังภาพ)
3. คว่ำตัวว่าวลง แล้วใช้เทปใสติดระหว่างตัวว่าวและปีก โดยให้เส้น C ของปีกทาบบน เส้น A ของตัวว่าว
4. พลิกว่าวกลับมา แล้วใช้เทปกาวติดขอบด้านนอกของตัวว่าว เส้น B เข้ากับเส้น D ของปีกทั้งสอง (เนื่องจากความยาวของเส้น D ยาวกว่าเส้น B ให้ยึดขอบด้านล่างเป็นหลัก)
5. ใช้เทปกาวแปะที่มุมของปีก (จุด E) แล้วเจาะรูร้อยเชือกไวัตรงกลางให้ยาวพอประมาณ





สื่อเข้ามุมวงล้อสี




อุปกรณ์

1. กระดาษ 100 ปอนด์
2. สี
3. เชือก
4. วงเวียน
5. ดินสอ
6. ไม้บรรทัด
7. ฟิวเจอร์บอร์ด
8. กาวสองหน้า
9. กรรไกร
 
วิธีทำ

1. ใช้วงเวียนวาดวงกลมในกระดาษ 100 ปอนด์ 2 แผ่น โดยวาดให้มี 3 วงกลม
2. ใช้ดินสอและไม้บรรทัดขีดเส้นผ่านศูนย์กลางทั้ง 2 แผ่น จากนั้นระบายแม่สีทั้งสามลงบนลงกลม โดยให้แต่ะสีสลับกัน
3. ตัดฟิวเจอร์บอร์ดเป็นวงกลม ขนาดเท่าวงกลมของกระดาษ
4. ติดกระดาษลงบนฟิวเจอร์บอร์ดที่ตัดไว้ เพื่อเพิ่มความหนา
5. เจาะรูตรงกลางวงกลม 2 รู ห่างกันประมาณ 1 ซม.
6. ร้อยเชือกยาวพอประมาณ



การทดลองตะเกียบอัศจรรย์


อุปกรณ์

1. ขวดน้ำพลาสติก 2 ขวด
2. ข้าวสาร
3. ตะเกียบ

วิธีทำ

1. กรอกข้าวสารใส่ขวดน้ำ โดยขวดที่ 1 ให้กระทุ้งข้าวสารให้แน่น ขวดที่สองเขย่าขวดในแนวนอน
2. เสียบตะเกียบลงไปในขวดข้าวสารให้เหลือตะเกียบไว้ประมาณ 1 นิ้ว
3. ดึงตะเกียบขึ้นจากทั้งสองขวด

ผลการทดลอง

1. การดึงตะเกียบจากขวดที่ 1 ปรากฏว่า ตะเกียบสามารถดึงขวดน้ำที่มีข้าวสารขึ้นมาได้
2. การดึงตะเกียบจากขวดที่ 2 ปรากฏว่า ตะเกียบหลุดออกมาอย่างง่ายดาย เนื่องจาก แรงเสียดทานระหว่างเม็ดข้าวสารกับตะเกียบมีมากกว่าน้ำหนักของข้าวสารที่อยู่ในขวด

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 5

10 ก.ค. 56
       - อาจารย์ให้นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์รายบุคคล ดิฉันได้เสนอ "ลูกปัดหลากสี"

     อุปกรณ์
          1. กระดาษมีลวดลายสีสันสดใส
          2. กระจกเงา 3 บาน
          3. พลาสติกใสทรงกระบอก พร้อมฝา
          4. กระดาษสีดำทึบแสง
          5. เทปใส
          6. ลูกปัดหลายๆสี
          7. กรรไกร
          8. กระดาษไข

     วิธีทำ
          1. นำกระจก 3 บานที่เตรียมไว้มาต่อกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ติดด้วยเทปใสให้แน่น
          2. นำกระดาษสีดำมาตัดเป็นวงกลม แล้วเจาะรูตรงกลาง ทำสองชิ้น
          3. นำกระดาษที่สีดำที่ตัดไว้มาติดที่ฝาทั้งสองด้าน และอีกด้านหนึ่งให้เอากระดาษไขมาปิดที่รู
          4. นำกระดาษลวดลายใส่เข้าไปในขวดพลาสติก
          5. นำกระจกที่ติดเทปใสแล้ว ใส่เข้าไปในขวด
          6. ใส่ลูกปัดเข้าไป แล้วปิดฝาให้แน่น



***ปล. อาจารย์ให้คำแนะนำว่า ควรจะนำสื่อชิ้นนี้เป็นสื่อตามมุม และให้หาของเล่นวิทยาศาสตร์ชิ้นใหม่ที่แปลกใหม่และไม่ซ้ำเพื่อน แล้วนำลงบล็อก พร้อมทั้งให้หา การทดลองวิทยาศาสตร์ลงบล็อกเพิ่มเติมด้วย